งานวิจัย

งานวิจัยของคณาจารย์

เรื่องที่ 1 : โครงการศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต

การวิจัยเรื่อง การศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต : ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคแรงงานในจังหวัดกรณีศึกษาและระดับประเทศ และ 3) นำเสนอแนวทางที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคแรงงาน วิธีการวิจัยเชิงพรรณา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้แทนจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาเอกชน สถาบันอาชีวศึกษา (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) สถาบัน อุดมศึกษา (ผู้บริหาร อาจารย์นักศึกษา ผู้ปกครอง) ผู้แทนสำนักงาน กศน.จังหวัด ผู้แทนอุตสาหกรรม จังหวัด ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสถานประกอบการ และผู้แทนพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ของกลุ่ม จังหวัดในสี่ภูมิภาคได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์และตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง สถานประกอบการ

คณะผู้วิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ
อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด

เรื่องที่ 2 : ระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่

การวิจัยเรื่องระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในประเทศต่างๆ 2) ถอดบทเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนในประเทศไทย ที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษา และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของ โรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน 2) โรงเรียนใน ประเทศไทยที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์พบว่าแม้อยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน แต่ในทาง ปฏิบัติยังมีความแตกต่างกันและยังเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ บริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก 15 ยุทธศาสตร์รอง และ 49 มาตรการ ปัจจัยความสำเร็จ แบ่งเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน รูปแบบความร่วมมือในการจัด การศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบความร่วมมือตามความพร้อม รูปแบบความร่วมมือแบบเครือข่าย รูปแบบความร่วมมือแบบยึดพื้นที่เป็นที่ตั้ง รูปแบบความร่วมมือ แบบหุ้นส่วน และรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาในกำกับ

คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ
อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด

เรื่องที่ 3 : แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship): ประสบการณ์นานาชาติ

รายงานวิจัย แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship): ประสบการณ์นานาชาติ 
การศึกษาเป็นประตูสู่ความเท่าเทียมในสังคม และการให้การศึกษาและทักษะที่จำเป็นจะช่วยเสริมพลังให้บุคคลท่ีจะนำไปสู่การสร้างโลกยุคใหม่ที่ดีขึ้นโดยหยิบยกประเด็นการศึกษาต้องมาก่อน (Education First) เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับวงการศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก 3ประการ ได้แก่ ส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้เข้าเรียน (Put Every Child inSchool) ปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ (Improve the Quality of Learning) และสร้างความเป็นพลเมือโลก (Foster Global Citizenship) แนวคิดเรื่องการศึกษาต้องมาก่อน ทั้ง3ประเด็นดังกล่าว ได้รับความสนใจและผนวกเข้าไปในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG) ซึ่งเร่ิมต้นใช้ในปี พ.ศ. 2559 – 2573 ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างย่ิงประเด็นการสร้างความเป็นพลเมืองโลก (FosterGlobal Citizenship) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และได้รับความสนใจเป็นอันมาก อีกท้ังยังมีองค์ความรู้และตัวอย่างการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติค่อนข้างน้อย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้ดำเนินโครงการวิจัย เรื่องแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship)

คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก

เรื่องที่ 4 : แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการศึกษานานาชาติเพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา

คณะผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง ; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก,
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. ปองสิน วิเศษศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อาชัญญา รัตนอุบล

เรื่องที่ 5 : Culturally Relevant Constructionist Design

The project qualitatively explores 55 Thai 4th grade students, a teacher, and 7 community members from a low-income public school in Bangkok, Thailand in order to develop a design framework for creating school-based maker experiences that are culturally relevant to lower income Thai students. Co-teaching and co‑designing a two-year design-based research project named, “Little Builders,” I worked with a local science teacher to engage the students in a constructionist learning experience that involved designing and building social innovations to solve problems in their community. I propose the Culturally Relevant Constructionist Design framework as a way to (1) create constructionist learning experiences that align with students’ values and goals, and (2) engage important people in the students’ lives, such as teachers and community members, in the process of making.

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร. สวรส ธนาพรสังสุทธิ์

เรื่องที่ 6 : Factors Influencing High Academic Achievement of Stateless Migrant Children in Tak Province, Thailand

The knowledge gained from this study will contribute to the field of migrant education and could encourage policymakers and educators to implement education programmes to both meet the needs and enable the success of migrant children. This multi-case study examined five factors—family, individual, school/teacher, peer group, and community/culture—that influenced the academic achievement of migrant children. The key participants were six migrant children in Grade 6 in two Royal Thai Government schools in Mae Sot, Tak Province, Thailand, three class teachers, and six caregivers. Data were collected through semi-structured interviews and observations. Creswell’s five steps of qualitative data analysis was used: organising and preparing data, reading through all data, coding the data, interrelating the themes, and interpreting the meaning of themes. The seven themes were as follows: (1) the value of education; (2) parents/guardians as important agents to support their children’s education; (3) individual characteristics contributing to good grades; (4) the impact of peer relationships; (5) healthy relationships with school and teachers; (6) the power of the community; and (7) gratitude as a motivation for a high level of education.

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.เปศล ชอบผล

เรื่องที่ 7 : การจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริง

 
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการจัดการความรู้ในรูปแบบการบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาพยาบาล
วิธีการ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ประสบการณ์และผลการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาพยาบาล
ข้อเสนอ นวัตกรรมทางการศึกษาที่ควรนำมาประยุกต์ในการจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ได้แก่ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงที่เป็นวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จากศูนย์เรียนรู้โดยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่มีการประมวลผลเพื่อแสดงภาพกราฟิกให้ปรากฏขึ้นมาแสดงร่วมกับสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งช่วยให้เกิดความน่าสนใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับการเรียนการสอนของพยาบาลในการนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการสามารถแสดงให้เห็นในเชิงภาพประกอบเสมือนจริงได้ ห้องเรียนเสมือนจริงเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนการออกแบบของรายวิชาสามารถทำได้สำหรับแต่ละรายวิชาห้องเรียนเสมือนจริงมีความคุ้มค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการความรู้
สรุป การจัดการความรู้นักศึกษาพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถเรียนรู้ทั้งจากในห้องเรียนเสมือนจริงและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และสถานการณ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยไม่เสียเวลาการเดินทางจึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ที่เพิ่มทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้มากยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาพยาบาล

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.เปศล ชอบผล, อาจารย์ ดร.งามนิตย์ รัตนานุกูล, อาจารย์ นฤมล พรหมภิบาล, อาจารย์ จิตรลดา สมประเสริฐ, อาจารย์ ดร.นิติบดี ศุขเจริญ

เรื่องที่ 8 : รูปแบบการเรียน

รูปแบบการเรียนแบ่งได้หลากหลายตามแนวคิดของนักศึกษา มีผู้จัดระบบรูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆ เพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์กับการนำไปทำความเข้าใจผู้เรียนได้จัดกลุ่มรูปแบบการเรียนตามลักษณะ หัวหอมที่มี 3 ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นการจัดระบบรูปแบบการเรียนที่สังเกตได้ในลักษณะของความชอบในวิธีเรียนเกิดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชั้นกลางเป็นรูปแบบการเรียนที่ขึ้นกับลักษณะการประมวลสารสนเทศของผู้เรียน ส่วนชั้นในสุดเป็นรูปแบบการเรียนที่พัฒนาจากความคิดและบุคลิกภาพของผู้เรียน การวัดรูปแบบการเรียนด้วยแบบความสามารถ บ่งชี้รูปแบบของผู้เรียนแต่ละคนจากการสำรวจงานวิจัยในประเทศไทย เกี่ยวกับรูปแบบการเรียน พบว่า ส่วนใหญ่ใช้แนวคิดของกราชาและไรซ์แมน และรูปแบบการเรียนที่พบมากที่สุดคือ แบบมีส่วนร่วม และแบบร่วมมือ

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.เปศล ชอบผล, อาจารย์ จีราพร พระคุณอนันต์, อาจารย์ กรพินธุ์ ฤทธิบุตร, อาจารย์ ดร.นิติบดี ศุขเจริญ

เรื่องที่ 9 : ศาสตร์กษัตริย์ การวิเคราะห์การเรียนรู้ตามวิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์วิถีการเรียนรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางศาสตร์กษัตริย์ 2. เพื่อนำเสนอรูปแบบวิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามแนวทางศาสตร์กษัตริย์ โดยศึกษาจากเกษตรกรรุ่นใหม่ 26 คน จากการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม พบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่นำศาสตร์กษัตริย์ซึ่งหมายถึงการเป็นนักรบที่พร้อมจะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคในบริบทที่แตกต่างกันตามความเชี่ยวชาญในศาสตร์ความรู้และความสามารถอื่นของตนเองที่มามีแต่เดิม วิถีของเกษตรกรรุ่นใหม่เริ่มจากการแสวงหาปรัชญาการใช้ชีวิตที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตนคือการทำความเข้าใจตนเอง นำไปสู่การเข้าถึงการประยุกต์แนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ จากนั้นจึงมุ่งมั่นพัฒนาการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยเกษตรกรรุ่นใหม่มีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. การวางแผนเพื่อที่จะมี เช่นพื้นที่ เงินทุน ความรู้ เครือข่าย 2. เปิดมุมมองใหม่เพื่อวางแผนชีวิตที่ต้องการจะเป็น และ 3. แสวงหาชีวิตที่สมดุล มีความสุขและมีอิสรภาพ และทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดอบรมบนฐานความต้องการของเกษตรกรรุ่นใหม่พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และยังมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาได้จัดให้มีหลักสูตรผู้ประกอบการเพื่อบ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด

เรื่องที่ 10 : Factors Influencing Academic Achievement of Economically Disadvantaged Children in Remote Areas of Thailand: A Phenomenology Study

The purpose of this study was to investigate the factors influencing the academic success of economically disadvantaged children who resided in remote areas of Thailand. This study applied the phenomenology research methodology. The participants in this study were eight academically successful people who had already graduated at least at the bachelor degree level. They had been economically disadvantaged, residing in remote areas of Thailand and had obtained HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Scholarships. A semi-structured interview was applied as a means of collecting data. There were two rounds of one-on-one interviews with each participant and each round was at least one month apart. This study applied Creswell’s steps of data analysis; organising and preparing data, reading through all the data, coding the data, interrelating theme, and interpreting the meaning of theme. The five themes of factors influencing academic achievement that emerged were; aspirations and educational goals, personal characteristics of people who have academic achievement, significant others who inspired and supported, scholarships as opportunity creators, and schools and universities as agents for academic achievement.

คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.เปศล ชอบผล

เรื่องที่ 11 : การจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ในต่างประเทศ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนในต่างประเทศ โดยอาจารย์เสาวพร บุญช่วย ผศ.ดร.อุบลวรรณ หงส์วิทยากร ผศ.ดร.ดวงกมล บางชวด และอาจารย์พริ้วฝน เทียนศรี

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนในต่างประเทศ และเพื่อพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยในช่วงต้นของสถานการณ์โรคระบาดโควิด – 19 ที่การจัดการเรียนการสอนต้องปรับตัวอย่างมากทั้งเพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะทางด้านนาฏศิลป์และถ่ายทอดความเป็นไทยไปพร้อมกัน ซึ่งผู้เรียนในปัจจุบันส่วนมากเป็นผู้ที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศจึงมีความสนใจเรื่องวัฒนธรรมไทยไม่มากนัก หากแต่ผู้ปกครองยังให้ความสำคัญจึงส่งเสริมให้เรียนโดยมีจุดมุ่งหมายคือการซึมซับวัฒนธรรมและมีโอกาสออกแสดงในงานต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการในแต่ละวัด ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่าควรมีการจัดทำหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนครูและช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นเพื่อจะได้เลื่อนชั้น ครูอาสาควรมีความรักต่อการสอนและสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 6 ระดับตามความสามารถของผู้เรียน ในแต่ละระดับจะประกอบด้วยเนื้อหา สื่อการสอน และบทเพลงที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละระดับ

เรื่องที่ 12 : ศิลปวัฒนธรรมในโรงเรียน ตชด.

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: กรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดย ผศ.ดร.ดวงกมล บางชวด ผศ.ดร.อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร อ.ดร.ปัญญา อัครพุทธพงษ์ อ.ดร.เปศล ชอบผล และ คุณศุภชัย ศรีนวล

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิด หลักปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาเพื่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผลการวิจัยพบว่า ทุกโรงเรียน ตชด. ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น หรือการจัดกิจกรรมในรูปแบบของชมรมโดยมีกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนร่วมดำเนินการ ซึ่งมีเป้าหมายที่แตกต่างกันคือเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ในขณะที่บางโรงเพื่อให้นำความรู้และทักษะไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมี 2 แนวทางคือทั้งแบบ Top-down และ Bottom-up โดยเริ่มจากการรับฟังความต้องการของครูด้วยการจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การสร้างโอกาสการพัฒนาความรู้ทางการศึกษาของครูในลักษณะของพื้นที่ทดลอง (Sandbox) และการสะสมหน่วยกิตความรู้จากการทำงาน (Credit bank) การให้ความรู้และลงมือปฏิบัติเรื่องการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น การตั้งชมรมศิษย์เก่า และการจัดทำสื่อสังคมออนไลน์ที่รวมรวมผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อการจัดจำหน่าย

 

เรื่องที่ 13 : ประวัติศาสตร์ท่าปลา อุตรดิตถ์

งานวิจัยเรื่อง เขื่อนสิริกิติ์กับอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ : มิติประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยผศ.ดร.ดวงกมล บางชวด ผศ.ดร.อุบลวรรณ หงส์วิทยากร ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และคณะ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์  เพื่อวิเคราะห์สภาพ ปัจจัย เงื่อนไขและประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำน่านและเขื่อนสิริกิติ์จากอดีตถึงปัจจุบัน และเพื่อนำเสนอสายสัมพันธ์ของชุมชนท่าปลากับเขื่อนสิริกิติ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จุดเด่นของงานวิจัยนี้คือวิธีการวิจัยที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์โรคระบาดโควิด ที่การวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยมากจะเก็บข้อมูลโดยนักวิจัย แต่ในงานวิจัยนี้ได้ร่วมกันเก็บข้อมูลกับนักวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้ช่วยนักวิจัยคือครูในโรงเรียน และยุววิจัยคือนักเรียนในพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะได้ผลการศึกษาวิถีชีวิตแล้ว ยังเป็นกระบวนการสร้างนักวิจัยในท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของท้องถิ่นตนเองอีกด้วย

งานวิจัยของบัณฑิต