งานวิจัยของคณาจารย์

เรื่องที่ 1 : โครงการศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต
การวิจัยเรื่อง การศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต : ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการเทียบโอนและระบบธนาคารหน่วยกิต 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคแรงงานในจังหวัดกรณีศึกษาและระดับประเทศ และ 3) นำเสนอแนวทางที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคแรงงาน วิธีการวิจัยเชิงพรรณา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้แทนจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาเอกชน สถาบันอาชีวศึกษา (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) สถาบัน อุดมศึกษา (ผู้บริหาร อาจารย์นักศึกษา ผู้ปกครอง) ผู้แทนสำนักงาน กศน.จังหวัด ผู้แทนอุตสาหกรรม จังหวัด ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสถานประกอบการ และผู้แทนพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ของกลุ่ม จังหวัดในสี่ภูมิภาคได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์และตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง สถานประกอบการ
คณะผู้วิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ
อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด

เรื่องที่ 2 : ระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
การวิจัยเรื่องระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในประเทศต่างๆ 2) ถอดบทเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนในประเทศไทย ที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษา และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของ โรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน 2) โรงเรียนใน ประเทศไทยที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์พบว่าแม้อยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน แต่ในทาง ปฏิบัติยังมีความแตกต่างกันและยังเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ บริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก 15 ยุทธศาสตร์รอง และ 49 มาตรการ ปัจจัยความสำเร็จ แบ่งเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน รูปแบบความร่วมมือในการจัด การศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบความร่วมมือตามความพร้อม รูปแบบความร่วมมือแบบเครือข่าย รูปแบบความร่วมมือแบบยึดพื้นที่เป็นที่ตั้ง รูปแบบความร่วมมือ แบบหุ้นส่วน และรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาในกำกับ
คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ
อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด

เรื่องที่ 3 : แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship): ประสบการณ์นานาชาติ
รายงานวิจัย แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship): ประสบการณ์นานาชาติ
การศึกษาเป็นประตูสู่ความเท่าเทียมในสังคม และการให้การศึกษาและทักษะที่จำเป็นจะช่วยเสริมพลังให้บุคคลท่ีจะนำไปสู่การสร้างโลกยุคใหม่ที่ดีขึ้นโดยหยิบยกประเด็นการศึกษาต้องมาก่อน (Education First) เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับวงการศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ ส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้เข้าเรียน (Put Every Child inSchool) ปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ (Improve the Quality of Learning) และสร้างความเป็นพลเมือโลก (Foster Global Citizenship) แนวคิดเรื่องการศึกษาต้องมาก่อน ทั้ง3ประเด็นดังกล่าว ได้รับความสนใจและผนวกเข้าไปในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG) ซึ่งเร่ิมต้นใช้ในปี พ.ศ. 2559 – 2573 ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างย่ิงประเด็นการสร้างความเป็นพลเมืองโลก (FosterGlobal Citizenship) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และได้รับความสนใจเป็นอันมาก อีกท้ังยังมีองค์ความรู้และตัวอย่างการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติค่อนข้างน้อย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้ดำเนินโครงการวิจัย เรื่องแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship)
คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก

เรื่องที่ 4 : แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการศึกษานานาชาติเพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา
คณะผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง ; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก,
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. ปองสิน วิเศษศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อาชัญญา รัตนอุบล

เรื่องที่ 5 : Culturally Relevant Constructionist Design
The project qualitatively explores 55 Thai 4th grade students, a teacher, and 7 community members from a low-income public school in Bangkok, Thailand in order to develop a design framework for creating school-based maker experiences that are culturally relevant to lower income Thai students. Co-teaching and co‑designing a two-year design-based research project named, “Little Builders,” I worked with a local science teacher to engage the students in a constructionist learning experience that involved designing and building social innovations to solve problems in their community. I propose the Culturally Relevant Constructionist Design framework as a way to (1) create constructionist learning experiences that align with students’ values and goals, and (2) engage important people in the students’ lives, such as teachers and community members, in the process of making.
คณะผู้วิจัย : อาจารย์ ดร. สวรส ธนาพรสังสุทธิ์